ประวัติเคนโด้
|

ประวัติเคนโด้

ประวัติเคนโด้

เคนโด้” คือ ศิลปวิทยายุทธ์ อันมีความหมายว่า “ วิถีแห่งดาบ ” ที่มีพื้นฐานจากการใช้ดาบของซามูไร ซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 789 จนกระทั่งพัฒนามาเป็นกีฬาเคนโด้ กีฬาซึ่งกำลังได้รับความนิยมในกว่า 28 ประเทศทั่วโลก นอกจากจะเป็นวิชาการต่อสู้ที่รวดเร็วและเด็ดขาดแล้ว เคนโด้ยังแฝงหลักจริยธรรมของนักรบ และความลึกล้ำด้านจิตวิญญาณของศาสนาไว้อีกด้วย วิชาเคนโด้จึงถูกนำมาเป็นวิชาการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งนักรบชนชั้นปกครอง รวมทั้งเหล่าวิญญูชนให้ความนับถือ ยกย่องเป็นพิเศษมาช้านาน จนกระทั่งแพร่หลายไปเป็นวิชาหนึ่งในสถาบันวิชาการปกครอง และการทหารต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย

ประวัติเคนโด้

แก่นแท้ของวิชาเคนโด้คือ การผนวก ดาบ จิตใจ และร่างกาย เข้าเป็นหนึ่ง การโจมตีโดยดาบไม้ไผ่ หรือชินัย ซึ่งประสานจิตและกายไว้เป็นหนึ่งเดียว จนเอาชนะคู่แข่งได้ในพริบตานั้นจะเรียกว่า อิทโชะคุ อิตโต ( ISSOKU ITTO) หรือ ” ดาบเดียวในหนึ่งก้าว” ซึ่งถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่อันเกิดจากการใช้พลังเพียงนิดเดียว ดังนั้น ผู้ที่ฝึกเคนโด้อย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุเพียงไหนก็สามารถ ใช้หลักการนี้เอาชนะคู่ต่อสู้ที่มีร่างกายแข็งแรงกว่าได้อย่างง่ายดาย

ประวัติเคนโด้ในประเทศไทย

คำว่า “เคนโด้” นั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2514-5 ประเทศไทยเรารู้จักกีฬาเคนโด้เป็นครั้งแรกทางหน้าจอโทรทัศน์ ก็คือเรื่อง Ore wa Otoko da! (ข้าคือลูกผู้ชาย) ที่ใช้ชื่อเรื่องภาษาไทยง่ายๆแต่ติดปากว่า “เคนโด้. เนื้อเรื่องกล่าวถึงการต่อสู้ของลูกผู้ชายอย่าง โคบายาชิ โคจิ ที่ไม่ชอบการที่ผู้หญิงมีอิทธิพลอย่างสูงในโรงเรียนอาโอบะ โดยใช้การต่อสู้ของลูกผู้ชายคนหนึ่งผ่านดาบไม้ไผ่ (เคนโด้) สร้างชมรมเคนโด้ขึ้นมาด้วย ความยากลำบาก การเป็นขมิ้นกับปูนกับ โยชิคาว่า มิซาโอะ หัวหน้าชมรมดรัมเมเยอร์ได้สร้างสีสันให้กับหนังเรื่องนี้เป็นอย่างมาก หลังจากเรื่องดังกล่าวจบไปแล้ว คำว่า “เคนโด้” ก็เลือนหายไป

จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคมปีพ.ศ. 2528 ได้มีอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นผู้ชำนาญในสาขาพลศึกษาชื่ออาจารย์เคอิชิ นากาเน่ ( Keishi Nakane) เดินทางมาเป็นอาสาสมัครประจำที่วิทยาลัยพลศึกษากรุงเทพฯ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี และได้นำเคนโด้ที่อาจารย์ถนัดที่สุดเผยแพร่เป็นครั้งแรก โดยทำการฝึกสอนให้กับทางคณาจารย์และนักศึกษาที่สนใจในเวลาเย็น ขณะนั้นอาจารย์ได้รับ 5 ดั้งจากสหพันธ์เคนโด้ญี่ปุ่น

แต่เนื่องจากชุดและอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมเคนโด้นั้นมีราคาสูงมาก อาจารย์เคอิชิ นากาเน่ จึงได้ติดต่อชุดอุปกรณ์จาก JICA (Japan International Cooperation Agency) จำนวน 20 ชุดและขอชุดเก่าจากสหพันธ์เคนโด้ญีปุ่นอีกจำนวนหนึ่งเพื่อให้ผู้ที่สนใจในเมืองไทยได้ฝึกซ้อมหลังจากนั้น ผู้ที่เล่นเคนโด้ซึ่งมีอยู่ประมาณ 15 คนก็ได้ออกไปเผยแพร่ตามสถานที่ต่างๆ และถูกส่งไปเข้าร่วมการแข่งขันฝึกซ้อมกันกับประเทศอาเซียนที่เล่นกันอยู่เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์อยู่เป็นประจำ ต่อมาก็มีสถาบันหลายแห่งที่ให้ความสนใจในกีฬาเคนโด้จึงได้เรียนเชิญอาจารย์เคอิชิ นากาเน่ ไปช่วยแนะนำ การเล่นและฝึกสอน เช่นโรงเรียนนายเรือ , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , กรมพลศึกษา

ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2533 ก็ได้มีคนไทยที่ไปเรียนยังต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา , เกาหลีและญี่ปุ่นได้ฝึกเล่นเคนโด้ และเดินทางกลับมารวมตัวกัน ขึ้นร่วมกับชาวญี่ปุ่นที่สนใจอยู่แล้วรวมกันก่อตั้ง ชมรมกีฬาเคนโด้แห่งประเทศไทย ( Thailand Kendo Club) ขึ้น และในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2534 ทางชมรมได้ร่วมกับกรมพลศึกษาเป็นเจ้าภาพรับจัดการแข่งขันเคนโด้ชิงชนะเลิศอาเซียนครั้งที่ 3 ขึ้น ณ อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ

เคนโด้ในประเทศไทยขณะนั้นได้ทำการซ้อมอยู่ที่ อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติและมีการจัดตั้งชมรมขึ้นที่โรงเรียนนายเรือ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสารมิตร โดยอุปกรณ์ที่ใช้ทั้งหมดก็ได้รับการบริจาคจากญี่ปุ่น ขณะนั้นก็เริ่มมีการเก็บเงินค่าเข้ามาเล่นคนล่ะ 20 บาทต่อครั้งเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชมรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 อาคารนิมิบุตร ได้ทำการปิดซ่อมไม่สามารถใช้การซ้อมได้ จึงได้ทำขนอุปกรณ์ทั้งหมด ย้ายไปซ้อมที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดง หลังจากนั้น 4-5 ปีสมาชิกรุ่นเก่าส่วนหนึ่งก็ได้ไปทำการฝึกซ้อมที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ด้วยความ อนุเคราะห์สถานที่จากมหาวิทยาลัย สองปีถัดมาทางมหาวิทยาลัยต้องการขอคืนสถานที่ให้สำหรับนิสิตทำกิจกรรมจึงได้ย้ายไปเปิดชมรมเคนโด้ใหม่ ที่สุธาสปอร์ตคลับ ราชดำริ ตรงข้ามเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ หลังจากนั้นก็มีชมรมเคนโด้เกิดขึ้นอีกตามที่ต่างๆ มากมายหลากหลาย Style กันไปจนปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูลจาก http://booska.freehostia.com/ ครับ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องเคนโด้ หรือ ข้าคือ…ลูกผู้ชาย ให้อ่านอีกด้วยนะครับลองไปเยี่ยมชมกัน

Similar Posts

ใส่ความเห็น