|

ประวัติไอคิโด

 

ไอคิโด เป็นศิลปะการป้องกันตัวจากญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งคือ ปรมาจารย์มอริเฮะ อูเยชิบะ ในปี ค.ศ.1925


ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลก มีผู้ฝึกรวมแล้วเกินกว่าล้านคน

มีการนำไปผสมผสานกับวิชาอื่น ๆ เช่น การควบคุมเหตุร้ายของตำรวจ ทหาร การรักษาความปลอดภัย การให้คำปรึกษา และจิตบำบัด (มีหลักสูตรเรียนทางจิตวิทยากับไอคิโด สามารถเรียนได้สูงถึงระดับปริญญาเอก) และการระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล

ไอคิโด เป็นการรวบรวม กลั่นกรอง เอาคุณลักษณะพิเศษของศิลปะการต่อสู้หลายแบบของญี่ปุ่นในสมัยโบราณเข้าด้วย กัน ศิลปะการต่อสู้บางแบบที่พบในวิชาไอคิโดมีอายุนับย้อนหลังไปได้ถึงกว่า 700 ปี ปรมาจารย์ไอคิโดได้ศึกษาวิชาเหล่านี้จากอาจารย์ดั้งเดิมซึ่งหลายคนล่วง ลับไปโดยไม่ได้ถ่ายทอดวิชาให้กับคนอื่น ๆ อีก นอกจากปรมาจารย์ของไอคิโดเท่านั้น

วิชาเด่น ๆ ที่พบในศิลปะการต่อสู้แบบไอคิโด ก็คือ ยิวยิดสู วิชาดาบ และหอก ปรมาจารย์ยังได้ศึกษาศาสนาอย่างลึกซึ้งเอาจริงเอาจัง ถึงขั้นมีส่วนร่วมในการไปเผยแพร่ศาสนาในเกาหลี จีน และแมนจูเรีย ศาสนาที่ศึกษาคือ เซ็น และลัทธิโอโมโตเคียวซึ่งเป็นลัทธิหนึ่งของศาสนาชินโต

ด้วยเหตุที่ท่านมีความสนใจในการพัฒนาทางจิตวิญญาณดังกล่าว จึงพยายามที่จะเอาปรัชญาของศาสนามาประยุกต์เข้ากับศิลปะการต่อสู้ เพื่อให้ศิลปะการต่อสู้ก้าวพ้นไปจากระดับของการเอาชนะคู่ต่อสู้หรือทำร้าย ทำลายชีวิตผู้อื่น ไปสู่จุดมุ่งหมายที่สูงส่งหรือลึกซึ้งกว่า

ไอคิโด ไม่ใช่เป็นเพียงแค่วิธีทุ่มคู่ต่อสู้ หรือเอา ชนะผู้อื่นเพื่อสนองอัตตาของตนเองเท่านั้น แต่จุดมุ่งหมายที่ว่าก็คือ การฝึกไอคิโดเป็นไปเพื่อ –

– ปรับปรุงความสามารถในการรับรู้คนอื่น ๆ ให้ละเอียดอ่อนขึ้น (ทั้งในด้านจิตใจ ความรู้สึก ความต้องการ)

– ปรับปรุงความสามารถในการควบคุมตนเอง

– กุญแจที่ถือว่าเป็นหัวใจของวิชาไอคิโดก็คือ “มูซูบิ”(musubi) ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า unity (ความเป็นหนึ่งเดียว) หรือ harmonious interaction (การปฎิสัมพันธ์อย่างกลมกลืน)

– ในทางปฏิบัติ มูซูบิ หมายถึงความสามารถที่จะสร้างความกลมกลืน ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ กลมกลืนกับพลังและความเคลื่อนไหวของคู่ฝึก เป็นการศึกษาในเรื่องของการสื่อสารระหว่างบุคคล

– มูซูบิ ในความหมายที่ลึกลงไปอีก หมายถึงความสามารถที่จะควบคุมและเปลี่ยนแปลงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เปลี่ยนจากความก้าวร้าวหรือการเข้าโจมตีทำร้าย ให้กลายเป็นการสัมผัสมือกันเพื่อมิตรภาพแทน

– มูซูบิ ในความหมายที่ลึกซึ้งที่สุด หมายถึงการบรรลุถึงความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพสิ่ง และในแง่ของเทคนิค การฝึก หมายถึงการควบคุมการปฏิสัมพันธ์ให้เป็นไปเพื่อการลงเอยที่ดี ปลอดภัยต่อทุก ฝ่าย

ลักษณะพิเศษของวิชาไอคิโด เมื่อเปรียบเทียบกับกีฬาชนิดอื่น ๆ คือ

– ปฏิเสธการแข่งขัน เอาชนะคนอื่น แต่จะเน้นหนักที่ความร่วมมือกันในการฝึกมากกว่า การฝึกเป็นเหมือนการเป็นพี่น้องหรือเพื่อนร่วมทางกัน มากกว่าเป็นคู่แข่งกัน

– ไม่สอนให้ทำร้ายผู้อื่น เช่น ชก เตะ ถีบ แต่จะสอนให้ระงับหรือควบคุมความก้าวร้าว ความรุนแรงจากคนอื่น ๆ ด้วยความเมตตา ไม่ทำร้ายตอบ ไม่มีจุดประสงค์จะให้ผู้ที่ทำร้ายเราได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือจะให้ดีที่สุดก็คือ “ป้องกัน” ไม่ให้เกิดเหตุร้ายเสียแต่แรก มีวิญญาณของการปกป้องคุ้มครองด้วยความรัก (spirit of loving protection)

ไอคิโดใช้หลักการ 4 ข้อ คือ

(1) นำตัวออกจากทิศทางของการโจมตี

(2) โอนอ่อน กลมกลืน ตามแรง และเปลี่ยนทิศทางของการโจมตี

(3) ใช้เทคนิคการควบคุม โดยไม่มีเจตนาทำร้าย

(4) ยุติความชัดแย้ง ปลดอาวุธ นำกลับเข้าสู่ความสงบดังเดิม

ใช้วิธีการฝึกทางกาย เช่นเทคนิคการเคลื่อนไหว ตามแรง สลายแรง นำแรง เป็นการฝึกเบื้องต้น เป็นอุปมาอุปมัยทางรูปธรรม แต่มุ่งไปสู่การพัฒนาในระดับจิตวิญญาณหรือนามธรรมเป็นจุดหมายในบั้นปลาย ไม่ใช่เป็นเพียง physical martial art แต่เป็น spiritual martial art

ความหมายของคำว่า “ไอคิโด” มาจากคำ ๓ คำ คือ

ไอ หมายถึงความรัก ความเมตตา ความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว

คิ หมายถึงพลังชีวิต (เช่นเดียวกัน ฉี หรือ ชี่ ในภาษาจีน หรือ ปราณ ในภาษาบาลี)

โด หมายถึงวิถีทางหรือวิถีชีวิต

รวมความแล้ว ไอคิโด ก็คือ การใช้ชีวิตอย่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับคนอื่น ๆ หรือกับสรรพสิ่ง อยู่บนพื้นฐานของความรักและความเมตตานั่นเอง

ที่มา : ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญญา (Aikido 3 Dan)
ครูฝึกไอคิโดประจำชมรมไอคิโดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติไอคิโดในประเทศไทย

ไอคิโด เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยมีมิสเตอร์ซิดนี่ ไวท์ นักหนังสือพิมพ์ชาว อเมริกัน และได้ติดต่อประสานกับอาจารย์ ทามูระ ที่สำนักใหญ่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นอาจารย์สอน ไอคิโดในมหาวิทยาลัยเอเชียแห่งกรุงโตเกียวอีกด้วย ท่านจึงได้ส่งนักศึกษาที่จบแล้ว และมีความ สามารถพิเศษได้สายดำไอคิโดมาสอนในประเทศไทย ดังนั้นจึงมีอาจารย์ชาวญึ่ปุ่นมาสอน ดำเนินการ สอนแห่งแรกที่วิทยาลัยพลศึกษา (สนามกีฬาแห่งชาติ) เป็นแห่งแรก และได้รับการช่วยเหลือทางด้าน เทคนิคจากสำนักงานใหญ่ไอคิโด ที่ประเทศญึ่ปุ่น จัดส่งอาจารย์มาสอนโดยตลอด จนปัจจุบันถึง 15 ท่าน

1. ปี พ.ศ. 2505 มีการสอนที่วิทยาลัยพลศึกษาเป็นหลัก นอกเวลาทำการมาตลอด
(พ.ศ.2505-2511)
ปี พ.ศ. 2511 ได้ย้ายไปฝึกที่กองปราบปรามสามยอด สถานฝึกบูโดกัน (Budokan) เยาวราช , โรงเรียนดลวิทยา และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 ได้แสดงการฝึกไอคิโดที่หน้าพระที่นั่ง ณ สวนอัมพร

ปี พ.ศ. 2513 บริษัท คาวาซากิ ประเทศไทย ให้ความอุปถัมภ์จัดสถานที่ฝึกให้โดยใช้ชื่อว่า “เรนบูกัง” (Renbukan) ตั้งอยู่ที่ตึกชั้น 4 ตรงข้ามไปรษณีย์กลาง บางรัก กทม.

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็น สมาคมไอคิโดแห่งประเทศไทย โดยนายประพันธ์ จิตตะปุตตะ เป็นหัวหน้าคณะขอจัดตั้งสมาคมฯ และได้รับการ จดทะเบียน ได้ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2518 มีสมาชิก
ร่วมฝึกมากมายจนถึงปัจจุบัน โดยได้แพร่หลาย ไปทางด้าน รร.ทหาร ตำรวจ นักเรียน นักศึกษา แต่สำหรับประชาชน ทั่วไปรู้จักไอคิโด น้อยมาก

วัน ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2525 ได้ย้านสถานที่ฝึกมาตั้งอยู่ภายในสมาคม Y.W.C.A. กรุงเทพ ที่ถนนสาทร และมีชมรมฝึกอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงเรียนเตรียมทหาร, โรงเรียนนายเรือ, โรงเรียนนายร้อย จปร., มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, การไฟฟ้านครหลวง วัดเลียบ, ศูนย์เยาวชนกรุงเทพฯ (ไทย-ญึ่ปุ่น) ฯลฯ

วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2525 ชมรมไอคิโด ณ ศูนย์เยาวชนฯ ไทย-ญี่ปุ่น เริ่มเปิดมีการฝึก ด้วยเช่นเดียวกัน และในปีนั้นได้มีการฝึกไอคิโด ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, โรงเรียน วชิราวุธ จังหวัดสงขลา, ค่ายทหารจังหวัดอุบลราชธานี

วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ได้มาเยี่ยมชม เริ่มเปิด การฝึกที่ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานครฯ (ไทย-ญี่ปุ่น)

วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2531 จดทะเบียนย้ายที่ตั้งสมาคมฯ ไปที่ 893 ถ.พัฒนาการ แขวง คลองตัน เขตสวนหลวง คณาจารย์ที่มาจากสำนักงานใหญ่ประเทศญี่ปุ่นช่วยสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2505 จนถึงปัจจุบันเป็นจำนวน 15 ท่าน โดยที่สอนในปัจจุบันมี 4 ท่าน โดยเฉพาะ อาจารย์ โมโตฮิโร ฟูคาคูซา ได้สอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 40 ปี (พ.ศ.2547) ขณะนี้ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมไอคิโดแห่งประเทศไทย และนายประพันธ์ จิตตะปุตตะ เป็นเลขาธิการสมาคมฯ

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2539 สถานที่ฝึกไอคิโดของสมาคม ที่ Y.W.C.A. ได้ยุติล งด้วยเหตุ รื้ออาคารจึงยกเลิกสัญญาให้เช่า จึงย้ายสถานที่ฝึกมาประจำ ณ ศูนย์เยาวชน กรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) จนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 สถานที่ฝึก ชมรมไอคิโด (ศูนย์ไทย-ญี่ปุ่น) ถือว่าเป็นสถานที่ฝึกของสมาคม ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นเวลาประมาณ 3 ปี (1 มกราคม พ.ศ. 2539 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541)

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 สมาคมไอคิโดประเทศไทย ได้ย้ายสถานที่ตั้งสมาคม เลขที่ 1521/3 ชั้น 2 ถ.สุขุมวิท ระหว่างซอย 67-69 แขวงพระโขนงเหนือ เขตคลองเตย กทม. 10110 (โทร. 0-2714-0828) โดยใช้สถานที่ฝึก Renbukan dojo (ไอคิโด พระโขนง) เป็นสถานที่ฝึก และศูนย์กลางสมาชิกจนถึงปัจจุบัน

สมาชิกสาย ดำในประเทศไทยมีทั้งหมด 76 คน (ในรอบ 40 ปี) ที่ได้ประกาศนียบัตร และบัตร ประจำตัวรับรองสมาคมไอคิโดประเทศไทย (AAT) และจากสหพันธ์ไอคิโดระหว่างประเทศ (IAF) และจากสำนักงานใหญ่ไอคิโดแห่งโลก (Aikido World Headquarter, Tokyo, Japan) / HOMBU DOJO

ที่มา : อาจารย์ประพันธ์ จิตตะปุตตะ (Aikido 5 Dan)
ครูฝึกไอคิโดประจำสมาคมฯ และศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น

Similar Posts

ใส่ความเห็น