ประวัติ เทควันโด
|

ประวัติ เทควันโด

เทควันโด เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว โดยไม่ใช้อาวุธของ ชาวเกาหลี คำว่า เท (태) แปลว่า เท้า หรือการโจมตีด้วยเท้า ควอน (권) แปลว่า มือ หรือการโจมตีด้วยมือ โด (도) แปลว่า วิถี ดังนั้นเทควันโดโดยทั่วไป หมายถึง วิถีแห่งการใช้มือและเท้าในการต่อสู้และป้องกันตัว

ประวัติ เทควันโด

รากฐานของเทควันโดคือแทกคียอน   รูปแบบการต่อสู้แบบดั้งเดิม ในทางกลับกันแทกคียอนนั้นย้อนอดีตกลับไปสู่ยุคที่เกาหลียังอยู่กันเป็นชน เผ่า แทกคียอนนั้นเป็นการรู้กันในชื่อที่แตกต่างกันไปจากยุคสู่ยุคและถูกพบว่ามี การเติบโตอย่างรวดเร็วในยุคของสามอาณาจักร ( ช่วงระหว่างศตวรรษที่สี่ถึงเจ็ดคราวที่อาณาจักรโกกุเรียว ซิลลาและแบกเชต่อสู้กันเองเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในคาบสมุทรเกาหลี ) หลังจากนั้นแทกคียอนมีการพัฒนามากขึ้นและมีวิวัฒนาการในระหว่างยุคกอร์เยว ( ค . ศ . 918 – 1392) ช่วงเวลาที่ผู้ที่มีทักษะในการต่อสู้ได้รับการนับถือกันมาก ระหว่างช่วงเวลานั้น แทคคียอนใช้เป็นเครื่องมือในการเลื่อนยศของกองทัพ แต่สิ่งต่างๆเปลี่ยนไปเมื่อมาถึงยุคโชซอน ( ค . ศ . 1392 -1910) เมื่อมีการใช้ดาบกันมากขึ้น ทำให้แทกคียอนค่อยๆลดต่ำลงจนไม่เห็นคุณค่า ขณะนี้เทควันโดซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากแทกคียอนได้รับการยอมรับว่าเป็นกีฬา ระดับโลกซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามอันหนักหน่วงของผู้คนต่างๆมากมาย

แทกคียอน มีการจัดขึ้นประจำในอดีตเมื่อมี การจัดเทศกาลพื้นบ้านต่างๆ การแข่งขันกันกับหมู่บ้านใกล้กัน มีบันทึกว่าชอบมีการพนันขันต่อกันในผลการแข่งขันกันด้วย
ข้อความ ” แฮดองจุค ” ในยุคปลายสมัยโชซอนให้คำบรรยายที่ถูกต้องที่สุดของแทกคียอนซึ่งมีมาแต่ บันทึกในสมัยเก่าและมีการเขียนเกี่ยวกับแทกคียอนดังนี้

” มีบางสิ่งที่เรียกว่า กักซุล ( ชื่อเก่าของแทกคียอน ) ในวิธีทางเก่า ซึ่งคู่ต่อสู้สองคนเผชิญหน้ากัน และมีการเตะกันเพื่อล้มฝ่ายตรงข้ามให้ได้ มีด้วยกันสามระดับ ผู้ที่มีทักษะน้อยอาจได้แค่เตะขาส่วนที่มีทักษะสูงอาจเตะถึงหัวไหล่ ที่เก่งที่สุดจะเตะได้สูงถึงศีรษะ บรรพบุรุษของเราใช้มันเพื่อการล้างแค้นและแม้กระทั่งการพนันการต่อสู้เพื่อ แย่งผู้หญิงกัน “

ในปี ค.ศ. 1955 องค์กรพิเศษได้ถูก จัดตั้งขึ้นในนามขององค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่และควบคุมทำการสอนให้แก่สาธารณะชน องค์กรทางทหารซึ่ง ขึ้นอยู่กับเงินทุนกองกลางที่มีสามชิกขององค์กร เป็นผู้ที่มีความคิดความสามารถที่เชี่ยวชาญ กลุ่มสมาชิกได้รวมตัวกัน โดยมีนายพลเช ฮอง ฮี Choi Hong Hi เป็นผู้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า เทควันโด (Taekwondo) มีที่มาจาก เท (เทคียน: Takkyon) และ ควัน (คองซูโด: Kongsoodo)

เหตุผล ว่าเทควันโดสามารถได้รับความสำเร็จแบบนี้ในยุคปัจจุบันว่าเป็นกีฬายอดนิยม ชนิดหนึ่ง ( เมื่อเปรียบเทียบกันรูปแบบการต่อสู้แบบต่างๆของเอเซีย ) อาจจะเป็นไปในลักษณะของความจริงสิ่งหนึ่งที่ว่าในยุคโบราณนั้นมีรูปแบบการ แข่งขันที่รุนแรงในวัฒนธรรมของศิลปะการต่อสู้ของเกาหลี

ประวัติ เทควันโด ในประเทศไทย

ยุคแรก เทควันโดมีการเรียนการสอนเฉพาะทหารอเมริกันตาม ตามฐานทัพต่าง ๆ ในประเทศไทย เช่น อู่ตะเภา จ.อุบลราชธานี จ.นครราชสีมา เป็นต้น โดย ทหารอเมริกันได้จ้างอาจารย์เทควันโด จากประเทศเกาหลีมาเป็นผู้ฝึกสอนให้

ยุคก่อนปัจจุบัน เป็นครั้งแรกที่เผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้ เรียน เมื่อประมาณ 25 ปีกว่าได้มีการเรียนการสอนที่บริเวณด้านหลัง โรงภาพยนตร์ลิโด สยามสแควร์ ซึ่งก็ยังมีคนเรียนกันไม่มากนัก

ในเวลาต่อมา เทควันโดได้เปิดสอนที่โรงเรียนศิลปะป้องกันตัว อาภัสสา ถ.สุขุมวิท ตรงข้ามสถานทูตอังกฤษ โดยการนำของ คุณมัลลิกา ขัมพานนท์ ผู้ซึ่งมีความสนใจและรักกีฬาเทควันโดอย่างจริงจัง ทั้งยังได้
พัฒนาและเผยแพร่เทควันโดในประเทศไทย โดยการนำ อ.ซอง กิยอง จากประเทศเกาหลีมาเป็นอาจารย์สอนที่โรงเรียน และ คุณมัลลิกา ยังเป็นนายกสมาคมเทควันโดคนแรกของประเทศไทย หลังจากนั้นเทควันโดก็
ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยมา

ปัจจุบัน เทควันโดเป็นกีฬา ที่ได้รับการบรรจุเข้าเป็นกีฬาประเภท หนึ่งในกีฬาแห่งชาติของไทย รวมทั้งซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ ทำให้มีการ ถ่ายทอดข่าวสู่ประชาชนทั้ง หนังสือพิมพ์ และข่าวโทรทัศน์ เทควันโด
จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน และได้มีการเปิดสอนเทควันโดตาม สถานที่ต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น สมาคม สโมสรต่าง ๆ ศูนย์กีฬาต่าง ๆ รวมถึงตามโรงเรียนทั้งอนุบาล ประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย ขยายวงกว้างไปถึงตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ใน กรุงเทพฯ จังหวัดต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ ชลบุรี ขอนแก่น ตรัง กระบี่ สุรินทร์ นครราชสีมา และพิษณุโลก เป็นต้น

การเล่นเทควันโด นั้น จำเป็นจะต้องมีชุด ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 3 สิ่งคือ เสื้อ กางเกงและสายขาดเอว ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกถึงระดับชั้นของผั้เล่นว่าเก่งกาจเพียงใด

โดยแบ่งระดับสีตามนี้
เริ่ม สายขาว ต่อด้วยสายเหลือง สายเขียว สายฟ้าหรือน้ำเงิน สายน้ำตาล สายแดง และสายดำ

Similar Posts

ใส่ความเห็น