|

ประวัติมวยไทยโคราช

ประวัติมวย ไทยโคราช


การแบ่งยุค และพัฒนาการของมวยไทยโคราช

1. มวยไทยโคราชยุคเริ่มต้น  (สมัยรัชกาลที่ 1 – รัชกาลที่ 4)

ในสมัยนี้ยัง ไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่มีการบันทึกประวัติศาสตร์ในแผ่นศิลาจารึกของเดิมข้างแท่นอนุสาวรีย์คุณ หญิงโม เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2477 มีแผ่นทองแดงรูปเสมาจารึกไว้ว่า “ พุทธศักราช 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์เป็นกบฏต่อกรุงเทพมหานคร ยกกองทัพเข้ายึดเมืองนครราชสีมาได้ แล้วกวาดต้อนครอบครัวชาวนครราชสีมาไปถึงทุ่งสำริด ท่านผู้หญิงโมรวบรวมกำลังชาย หญิง เข้าต่อสู้อย่างตะลุมบอน กองทหารเวียงจันทร์แตกพินาศ เจ้าอนุวงศ์ถอยทัพกลับ ในที่สุดกองทัพไทยยกไปปราบปรามจับตัวเจ้าอนุวงศ์ได้ ท่านผู้หญิงกล้าหาญ ได้นามว่าเป็นวีระสตรีกอบกู้อิสรภาพนครราชสีมาไว้ได้ด้วยความสามารถมีคุณต่อ ประเทศชาติอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาท่านคุณหญิงโมเป็น  “ท้าวสุรนารี”

 

2. มวยไทยโคราชยุครุ่งเรือง (รัชกาลที่ 5 –  รัชกาล ที่ 6)

เป็นยุคที่มวย ไทยโคราช และมวยไทยภาคอื่นๆ เช่นมวยไชยา จากภาคใต้ มวยท่าเสาจาก อุตรดิตถ์ ภาคเหนือ มวยพระนคร และมวยลพบุรี จากภาคกลาง ซึ่งชกกันในแบบคาดเชือกเจริญพัฒนารุ่งเรืองถึงขึ้นสูงสุด มีการฝึกหัดมวยไปทั่วประเทศอย่างกว้างขวาง เพราะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จทอดพระเมตรการชกมวยอยู่เสมอๆ อีกทั้งยังพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้กับนักมวยที่มีความสามารถเป็นที่พอพระราช หฤทัยให้เป็น “ ขุนหมื่นครูมวย” ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 คน คือหมื่นมวยมีชื่อ (นายปรง จำนงทอง นักมวยจากเมืองไชยา) หมื่นมือแม่นหมัด (นายกลึง  โตสะอาด นักมวยจากเมืองลพบุรี) หมื่นชงัดเชิงชก  (นาย แดง  ไทยประเสริฐ นักมวยจากเมืองโคราช)

ไม่มีเวทีที่ แน่นอน ชกกันบนพื้นดินที่ไหนก็ได้ มีนักมวยที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพันเอกเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดม ศักดิ์ โปรดเกล้า ฯ ให้นักมวยจากเมืองโคราชเข้าไปฝึกซ้อมมวยอยู่ในวังเปรมประชากรและขึ้นทำการ แข่งขันทั่วประเทศไทย สร้างชื่อเสียงให้กับชาวโคราช เป็นอย่างยิ่ง นายบัว วัดอิ่ม (นิลอาชา) ได้เป็นครูสอนพลศึกษา ณ โรงเรียนนายร้อย จปร.นอกจากนี้ยังมี นายยัง หาญทะเล นายทับ จำเกาะ นายตู้ ไทยประเสริฐ นายพูน ศักดา ฯลฯ

3.  มวยไทยโคราชยุคเริ่มต้นสวมนวม (รัชกาลที่ 6 – รัชกาลที่ 8)

ในสมัยนี้ เริ่มมีการนำเอานวมแบบฝรั่งมาให้นักมวยสวมชกกันแทนการคาดเชือก อันเนื่องมาจากกรณีที่นายแพ  เลี้ยงประเสริฐ นักมวยจากท่าเสา อุตรดิตถ์ ชกนายเจียร์ นักมวยจากเขมร เสียชีวิตด้วยการชกกันในแบบคาดเชือก เป็นรอยต่อระหว่างมวยคาดเชือกกับการสวมนวมชก  มีการสอนมวยไทยโคราชในโรงเรียนนายร้อย จปร.โดยครูบัว นิลอาชา (วัดอิ่ม)

เป็นช่วงระยะ เวลาที่นักมวยไทยโคราชมีฝีมือดีและมีชื่อเสียงโด่งดังหลายคนเดินทางเข้าทำ การแข่งขันในกรุงเทพฯ มากขึ้น เวทีราชดำเนินก่อสร้างขึ้น ตามด้วยเวทีลุมพินี จัดการแข่งขันโดยให้นักมวยมีการสวมนวมชก มีกฎกติกาควบคุมการแข่งขันและตัดสินชัดเจน ทุกอย่างมีรูปแบบเป็นสากลมากขึ้น เมืองโคราชมีคณะนักมวยเกิดขึ้น เช่น คณะเทียมกำแหง คณะแขวงมีชัย คณะอุดมศักดิ์ คณะสุรพรหม คณะปราสาทหินพิมาย คณะลูกสุรินทร์ คณะสินประเสริฐ คณะกฤษณะสุวรรณ คณะสิงหพัลลภ ฯลฯ นักมวยโคราชที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เมืองโคราชในยุคนี้ เช่น สุข  ปราสาท หินพิมาย  ประยุทธ  อุดมศักดิ์ บุญมี แม่นฉมัง สมเดช  แขวงมีชัย (ยนตรกิจ)  เลิศชัย ยนตรกิจ ณรงค์ แขวงมีชัย   สุรเดช  แขวงมีชัย  (ทรงกิตติรัตน์) สายฟ้า  แขวง มีชัย  สงวนศักดิ์   แขวงมีชัย     ดาวใหม่  แขวงมีชัย  เผด็จ  แขวงมีชัย  ชัยยง ราชวัตร  คงคา  อุดมศักดิ์  สิงห์  อุดมศักดิ์  พิชิต  อุดมศักดิ์ ฉลวย อุดมศักดิ์ หลุย เดชศักดา (หมอผี) พีระ ลูกสุรินทร์ ฯลฯ

4.  มวยไทยโคราชยุคฟื้นฟู  (รัชกาลที่ 9 – ปัจจุบัน)

เป็นยุคที่มีเวที จัดการแข่งขันมวยไทยอาชีพอยู่ทุกหนทุกแห่งโดยทั่วไป หากไม่ใช่มวยโคราชคาดเชือกแบบดั้งเดิม มีกฎกติกา การแข่งขันที่ใช้กติกาของสมาคมมวยไทย ใช้พระราชบัญญัติกีฬามวยเหมือนกับเวทีมวยไทยอื่นๆทั่วประเทศ  การฝึกซ้อมมวยและการจัดแข่งขันเน้นไปในทางธุรกิจเป็นสำคัญมากกว่าที่ จะเน้นในด้านศิลปะแม่ไม้มวยไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6

บุคคลสำคัญอีก คนหนึ่งของมวยไทยโคราชคือ ครูบัว วัดอิ่ม หรือ ร.ท.บัว นิลอาชา ในภายหลังเป็นครูสอนพลศึกษาในโรงเรียนนายร้อย จปร.ตั้งแต่ พ.ศ.2473 จนถึงเกษียณอายุราชการในพ.ศ.2501 ลูกศิษย์ของครูบัวหลังจากการฝึกมวยในเวลาเรียนแล้ว ที่นิยมและชอบการชกมวยจนมีชื่อเสียง เช่น พล.อ.อ.บุญชู จันทรุเบกษา อดีต ผบ.ทอ. ใช้ชื่อในการชกมวยชื่อสมเพ็ชร น้ำน้อย  พล.ต.ยงยุทธ  ดิษฐบรรจง  พล.ต.ท.พระเนตร  ฤทธิฤๅชัย  พล.ต.ท.บันเทิง  กัมปนาทแสนยากร   จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ พล.อ.อาทิตย์  กำลังเอก อดีต ผบ.ทบ. จอมพลประภาส  จารุ เสถียร

ขอบคุณข้อมูลจาก

เช้า  วาทโยธา

– นักศึกษาปริญญาเอก  สาขามวยไทยศึกษา   มหา วิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  จังหวัดราชบุรี

– ครูชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนบ้านไผ่  อำเภอ บ้านไผ่  จังหวัดขอนแก่น

– ผลงานวิจัยดีเด่นเรื่อง  “มวยไทยโคราช”  ทุลเกล้าฯ  ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี

ของมหาวิยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง  จังหวัดราชบุรี

Similar Posts

ใส่ความเห็น