|

ประวัติมวยไทย

ประวัติมวยไทย

มวย ไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านานไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าเกิดขึ้น เมื่อใด มวยไทยถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติไทย ยากที่ผู้อื่นจะเลียนแบบได้โดยง่ายประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อน บ้านหลายประเทศมีการต่อสู้กันอยู่เนืองๆการฝึกมวยไทยจึงนิยมกันในหมู่ทหารใน การสู้รบคนไทยพยายามหาวิธีที่จะมิให้คู่ต่อสู้ประชิดติดตัวมากเกินไป จึงคิดศิลปะป้องกันตัวที่ใช้เท้าเป็นอาวุธ ผสมเข้ากับการต่อสู้ด้วยดาบ เมื่อคู่ต่อสู่เสียหลักเพราะถูกถีบหรือเตะจึงค่อยฟันด้วยดาบ ต่อมาก็ได้คิดฝึกการถีบและเตะให้เป็นศิลปะสำหรับต่อสู้ป้องกันตัวเป็นศิลปะ มวยไทยสำหรับใช้แสดงในเทศกาลต่าง ๆ ได้ มีการตั้งสำนักฝึกมวยไทยขึ้นหลายสำนักและพัฒนาท่าต่าง ๆ มีวัตถุประสงค์หลัก คือ สำหรับต่อสู้ป้องกันตัวและสู้รบกับข้าศึก

โดย เหตุที่ชาติไทยต้องผ่านการต่อสู้เพื่อผดุงความเป็นขาติมาในประวัติศาสตร์อัน ยาวนาน คนไทยจึงมีนิสัยนักสู้ และศิลปะมวยไทยก็เป็นเครื่องสะท้อนนิสัยความนักสู้ของคนไทยได้อย่างชัดเจน

ใน นิทานพื้นเมืองอยุธยา ก็มีเรื่องราวเล่าเกี่ยวกับมวยไทย ในนิทานพื้นบ้านเรื่องศรีธนญชัย ซึ่งมีปฏิภาณเป็นเลิศ ครั้งหนึ่งได้มีชายฉกรรจ์ร่างกายแข้งแรงสมบูรณ์เข้ามาขอท้าชกมวยไทยกับอาสา สมัครของพระเจ้าแผ่นดินไทย ศรีธนญชัยเจ้าปัญญาได้ ขออาสาพระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา จะทำการต่อสู้กับนักมวยที่ขอท้าชิงให้ได้ชัยชนะให้จงได้ โดยศรีธนญชัยได้จัดให้มีชายฉกรรจ์ที่ร่างสูงใหญ่มาแต่งตัวเป็นทารกให้นอนใน เปลแล้วป่าวร้องให้คนมาดู นักมวยผู้ท้าชิงก็มาดูด้วย ศรีธนญชัยได้ส่งรนของตนปะปนไปกับนักมวยที่ท้าชิงแล้วออกข่าวว่า ทารกที่นอนเปลคือ นักมวยไทย ขณะนี้เป็นทารกอยู่ ชายผู้ท้าชิงตกใจเร่งหนีออกจากเมืองไป เพราะคิดว่าขนาดยังเป็นทากยังตัวใหญ่อย่างนี้ ถ้าโตขึ้นคงเป็นนักมวยยักษ์เป็นแน่

นัก มวยไทยชื่อดังอีกคนหนึ่ง คือ พระยาพิชัยดาบหักในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศก่อนกรุงแตกมีคนไทยวัยหนุ่มชื่อ นายทองดี ฟันขาว เป็นผู้สนใจมวยไทย ได้เที่ยวฝึกมวยจากสำนักต่าง ๆ และแสดงฝีมือจนมีชื่อเสียงโด่งดัง ในที่สุดได้ฝากตัวอยู่กับพระยาตาก ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นายทองดี ฟันขาว เป็นนักมวยไทยคนแรกที่นำเอาศิลปะมวยไทยผสมมวยจีนใช้ต่อสู้ ต่อมาได้เป็นหลวงพิชัยอาสาจมื่นไวยวรนารถ พระยาสีหราชเดโช ท่านนับว่าเป็นทหารเอกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในสงครามกู้ชาติเป็นหน่วยกล้าตาย นำทัพลุยสู้ศึกจนดาบหักคามือ และรบต่อไปจนพม่าแตกพ่าย จนได้รับสมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก”

คราว ที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก ก็ได้มีการกวาดต้อนเชลยกลับสู่เมือง เมื่อนั้นกษัตริย์พม่าได้จัดให้มีการชกมวย ระหว่างเชลยศึกและนักมวยพม่า ครานั้นนายขนมต้ม ได้ชกชนะ นักมวยพม่าถึง 10 คนโดยต่อเนื่องกัน จนกษัตริย์พม่าตรัสชมว่า

“คน ไทยตัวเล็กแต่มีพิษร้ายรอบตัว หากมีเจ้านายดีที่ไหนจะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่เราได้” วันที่นายขนมต้มมีชัยชนะกีฬามวยกับพม่า ตรงกับวันที่ 17 มีนาคม จึงถือว่าเป็นเกียรติประวัติของนักมวยไทย

ใน สมัยกรุงธนบุรีการฝึกมวยไทยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยในการสงครามโดยเฉพาะ เพราะเป็นยุคกู้ชาติและฟื้นฟูบ้านเมืองการฝึกมวยไทยในสมัยกรุงธนบุรีมีจุด มุ่งหมายเพื่อราชการทหารมีการฝึกหัดตามสำนักและตามบ้านในพระราชวัง และมีการแข่งขันกันมากในเทศกาล มีการชกแบบคาดเชือกคล้ายสมัยอยุธยาเหตุการณ์ที่เล่าขานเกี่ยวกับมวยไทยต้น สมัยรัตนโกสินทร์มีอีกเรื่อง คือ เมื่อ พ.ศ. 2331 มีเรือกำปั่นฝรั่งเศสเข้ามาถึงพระนคร มีฝรั่งสองพี่น้องเป็นนายกำปั่น คนน้องเป็นนักมวยมีฝีมือเที่ยวพนันชกชนะมาหลายครั้งแล้ว ได้เข้ามาท้าชกและได้มีการจัดให้ชกหน้าพระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพรหะพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระอนุชาธิราช คือ พระบวรราชเจ้าพระสุรสิงหนาท นักมวยไทย คือ หมื่นผลาญ ในขณะที่ชกนักมวยไทยหลบหลีกไม่ให้ฝรั่งคู่ชกทำร้าย ฝรั่งผู้พี่ไม่พอใจลงมาช่วยผลักนักมวยไทยไม่ให้หนี สมเด็จพระอนุชาธิราชเห็นความไม่ชอบมาพากล จึงลงมาจากพลับพลา ยกพระบาทถีบล้มลง ชกอีกไม่ได้บ่าวไพร่ฝรั่งเข้ามาช่วยพาออกไป เมื่อเยียวยาวแล้วฝรั่งสองพี่น้องและพวกรับให้ล่ามมากราบเรียนพระยาพระคลัง ให้ช่วยกราบถวายบังคมลา แล้วรับแล่นเรือออกจากพระนครไป มวยไทยจึงเป็นที่เลื่องลือและเป็นที่คร้ามเกรงกันไปในนานาประเทศตั้งแต่นั้น มา

รัชสมัยกรุงธนบุรี ต่อเนื่องถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ชนชาวสยาม เป็นปึกแผ่น รวมเขตแดน รวมแผ่นดินได้มากแล้ว แต่ยังไม่ว่างเว้น จากศึกสงครามใหญ่น้อย ภัยรอบบ้าน เรื่องการฝึกปรือ กลมวย เพลงดาบ จึงนับได้ว่าเป็นศิลปะประจำชาติที่สำคัญ ซึ่งคนไทยโดยทั่วไป ใส่ใจ และให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว จึงได้เกิด สำนักมวย สำนักดาบ ขึ้น แม้แต่ในพระมหาราชวัง ก็ยังมีการเรียนการสอน กระบี่กระบอง วิชามวย และพิชัยสงคราม อันเป็นหลักสูตรสำคัญ โดยเฉพาะมวยไทย ที่มีรูปแบบการใช้อวัยวะเป็นอาวุธ ทั้ง หมัด เท้า เข่า ศอก คล้ายคลึงกันทั่วประเทศ แต่ถึงกระนั้น ด้วยความเป็นชนชาติอิสระ และมีภูมิปัญญา วิชามวย ก็ได้แตกแขนง แบ่งกลุ่ม แบ่งภาค กันออกไปอย่างเด่นชัด ทั้งท่ารำร่ายไหว้ครู รูปแบบลีลาท่าย่าง ท่าครู แม่ไม้ ลูกไม้ อีกทั้งความชำนาญเรื่อง การจัก สาน ร้อย ทำให้การคาดเชือก ถักหมัด มีรูปแบบเฉพาะตัวอีกมากมาย โดยหลักใหญ่แบ่งได้ตามภูมิภาค คือ

….ภาคเหนือ มวยท่าเสา มวยเม็งราย มวยเจิง ฯลฯ มวยท่าเสา เป็นมวยเชิงเตะ คล่องแคล่ว ว่องไว ทั้งซ้ายขวา จนได้ฉายา มวยตีนลิง คาดเชือกประมาณครึ่งแขน

….ภาคอีสาน มวยโคราช มวยหลุม ฯลฯ มวยโคราช ลักษณะการ เตะ ต่อย เป็นวงกว้าง นิยม คาดเชือก ขมวดรอบแขนจนจรดข้อศอก เพื่อใช้รับการเตะ ที่หนักหน่วงรุนแรง

….ภาคกลาง มวยลพบุรี มวยพระนคร ฯลฯ มวยลพบุรี ลักษณะการชก ต่อย วงใน เข้าออกรวดเร็ว เน้นหมัดตรง การคาดเชือก จึงคาดเพียงประมาณครึ่งแขน

….ภาคใต้ มวยไชยา ฯลฯ มวยไชยา ลักษณะการรุก-รับ รัดกุม ถนัดการใช้ศอกในระยะประชิดตัว การคาดเชือกจึงนิยมคาดเพียง คลุมรอบข้อมือ เพื่อกันการซ้น หรือเคล็ด เท่านั้น

….สาวประวัติ มวยดัง 4 ภาค เริ่มจากภาคเหนือ “มวยท่าเสา” สร้างชื่อยุคกรุงธนบุรี นับแต่พระยาพิชัยดาบหักจัดแข่งขันชกมวยเสมอๆ บนสังเวียนลานดิน ชื่อเสียงดีก็มีมีนายเมฆบ้านท่าเสา นายเที่ยงบ้านเก่ง นายแห้วแขวงเมืองตาก นายนิลทุ่งยั้ง นายถึกศิษย์ครูนิล ถึง พ.ศ.2472 นายแพ เลี้ยงประเสริฐ จากบ้านท่าเสา อุตรดิตถ์ ชกนายเจีย แขกเขมรตายด้วยหมัดคาดเชือก ทำให้รัฐบาล (สมัยรัชกาลที่ 7) มีคำสั่งให้การชกมวยไทยทั่วประเทศเปลี่ยนจากคาดเชือกเป็นสวมนวม

ภาคอีสาน “มวยโคราช”มีบันทึกว่าเฟื่องฟูสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นมวยต่อยวงกว้างเรียกกันว่าเหวี่ยงควาย ด้ายดิบคาดหมัดแล้วขมวดรอบๆ แขนจนจรดข้อศอกเพื่อป้องกันการเตะ ที่เลื่องลือได้แก่เจ้าฉายา หมื่นชงัดเชิงชก คือนายแดง ไทยประเสริฐ จากเมืองโคราช เตะรุนแรง หมัดเหวี่ยโด่งดัง อีกคนคือนายยัง หาญทะเล จากวังเปรมประชากรของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ผู้สอนท่ารำหนุมานควานสมุทรให้ (สมัยรัชกาลที่ 6)

ภาคกลาง “มวยลพบุรี” มีชื่อเสียงรัชกาลที่ 5 เช่นกัน ในงานพระเมรุกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ณ ท้องทุ่งพระเมรุป้อมเผด็จดัสกร กรุงเทพฯ มีการตีมวยหน้าพระที่นั่งครั้งใหญ่ เลื่องชื่อว่าเป็นมวยชกหมัดตรงดี ต่อยแหวกการคุมได้ดีกว่ามวยถิ่นอื่น คาดหมัดเพียงครึ่งแขนใช้ด้ายผ้าดิบ ครูมวยคนดังเจ้าฉายา หมื่นมวยแม่นหมัด คือนายกลิ้ง ไม่ปรากฏสกุล จากเมืองลพบุรี ผู้มีลีลาการชกฉลาด รุกรับ หลบหลีกว่องไว ใช้หมัดตรงดียอดเยี่ยม

ภาคใต้ “มวยไชยา” เจ้าฉายา หมื่นมวยมีชื่อ คือนายปล่อง จำนงทอง ผู้มีท่าเสือลากหางเป็นอาวุธสำคัญ ทั้งเน้นวงในใช้ความคมของศอก เข่า ประวัติมวยไชยาสืบค้นได้ถึงพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยาในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ถ่ายทอดมายังบุตรชายคือปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย ซึ่งภายหลังย้ายมาตั้งรกรากในกรุงเทพฯ เผยแพร่มวยไชยาแก่ศิษย์มากมายกระทั่งจากไปในปี 2521 ครูทอง เืชื้อไชยา ได้สืบทอดต่อมา จน ถึงครูแปรง

ปัจจุบัน มวยไทยได้มีการจัดการแข่งขันเป็นกีฬามวยไทย โดยมีการเพิ่มกติกาจากสากลขึ้นมา แต่ก็เปลี่ยนไปเป็นกีฬาอาชีพ

Similar Posts

ใส่ความเห็น