| | |

ปรมาจารย์ไอคิโด โมริเฮอิ อูเอชิบา

ปรมาจารย์ไอคิโด

ไอคิโด ศิลปะการต่อสู้ที่หลายๆท่านมักจะคิดว่าใ้ช้งานไม่ได้จริง เพียงแต่ผู้พูดนั้นยังไม่ได้มาสัมผัสถึงตัวตนแห่งหลักการและวิชาการที่แฝงอยู่ในความนุ่มนวลเสียมากกว่า ซึ่งจริงๆแล้ว วิชาไอคิโดเองก็ยังพัฒนามาจากวิชา ยูยิทสู นั่นเอง

วิชาไอคิโดนั้นมีประวัติความเป็นมาเริ่มต้นจากปรมาจารย์ โมริเฮอิ อูเอชิบา

โมริเฮอิ อูเอชิบา เกิดเมื่อวันที่ 14 เดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1883 (พ.ศ. 2426) ณ เมืองทานาเบ้ จังหวัดวากายามา ในประเทศญี่ปุ่น เขาเป็นเด็กน้อยที่อ่อนแอและขี้แย แต่โมริเฮอิก็ยังสมองดี เมื่อเขา อายุได้ 7 ปี เขาได้ศึกษาเล่าเรียน คำสอนของขงจื๊อ (ชิโชโกเกียว)  โดยได้รับการสั่งสอนจากพระภิกษุ รูปหนึ่ง หลังจากเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา เขาได้ฝึกการเล่นกีฬามวยปล้ำ ซูโม่ และว่ายน้ำ โดยได้ รับการสนับสนุนจากบิดาของเขาเอง

วันหนึ่งครูชั้นประถมศึกษาของเขาได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับ เซนดากาวา ผู้มีชื่อเสียงในการเล่น มวยปล้ำ ซูโม่ซึ่งมาจากเมืองทานาเบ้ เรื่องนี้จึงทำให้โมริเฮอิมีจิตใจตื่นเต้นไปกับเรื่องราวนี้ เมื่อโตขึ้น เขาจึงเป็น เด็กที่มีจิตใจเข้มแข็งและกล้าแกร่ง

โมริเฮอิหยุดเรียนกลางคันในโรงเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษา หลังจากเขาเรียนไปได้ 1ปี และได้ หันเข้าไปเรียนในโรงเรียนฝึกหัดอ่านและดีดลูกคิด (โซโรบาน) หลังจากเขาศึกษาและฝึกฝนในเวลา เพียงปีเดียว เขาก็มีฝีมือเท่าเทียมกับครูของเขา เขาเป็นผู้ที่มีความสามารถมาก และเป็นที่รู้จักของคน ทั่วไป และทำให้เขาได้รับการว่าจ้างให้ทำงานในหน่วยงานคิดภาษี

โมริเฮอิ ลาออกจากงานเมื่อเขามีอายุได้ 18 ปี จากนั้นเขาเดินทางไปยังเมืองโตเกียว และได้เปิด ร้านค้าขายของเขาเอง มีชื่อร้านว่า อูเอชิบาสโตร์ (อูเอชิบา โซไก) เขาทำงานหนักมากในการค้าขาย และมีคลังสินค้า และขายส่งโดยการส่งของด้วยเกวียนลากของด้วยตนเอง

โมริเฮอิ ไม่เคยคิดที่จะลืมการฝึกฝนในศิลปะการต่อสู้ของตัวเขาเองเลย หลังจากเขาได้ฝึก อบรมการเล่น ยูยิทสู ของโกเรียว และแบบของเคนยิทสู

โมริเฮอิ ได้ยกร้านค้าของเขา คือ อูเอชิบาสโตร์ ให้กับผู้ช่วยของเขา และเขาก็เดินทางกลับไป เมืองทานาเบ้ ในสมัยก่อนนั้นถ้าใครกลับไปยังบ้านเกิด หรือถิ่นที่เดิมต้องรับหมายเรียกทางทหาร และ ต้องตรวจร่างกายเพื่อเป็นทหาร และอีกทั้งเขาได้แต่งงานกับหญิงสาว ซึ่งเคยเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ เด็ก ๆ ชื่อว่า ฮัทสุ

ในปีต่อมาเขาได้รับราชการในกองทัพบก และตัวเขาเองได้แสดงความสามารถของเขาอย่าง ยอดเยี่ยมให้ผู้อื่นเห็นในขณะที่ฝึกวิชาทหารเพียงแต่ 3 ปี เขาก็ได้รับเลื่อนยศเป็นสิบเอก และได้รับ ขนานนามว่า เทพเจ้าของทหารทั้งหลายขณะที่อยู่ในกองทัพบก เขาได้ฝึกฝนอย่างหนักเกี่ยวกับ ศิลปะยาเกียว-เรียว (ยูยิทสู) โดยภายใต้การสอนของ มาซากัทสุ นาไก

โมริเฮอิ ปลดประจำการจากการรับใช้กองทัพบกมาเป็นเวลา 4 ปี และแล้วเขาก็เดินทางไป ฮอกไกโด เป็นผู้นำของกลุ่มบุกเบิกจากเมืองวากายามา 54 ครอบครัวด้วยกันไปตั้งรกรากที่นั่น เขาได้ตั้ง รกรากใน ชิวาตากิ ในตำบล มอนเบทสุ ได้ทำการปลูกต้นมิ้นต์ และทำงานหนักในฟาร์ม โคนมด้วย เขาได้รับความเคารพนับถือมากและได้รับฉายานามว่า พระราชาของชิราตากิ (เป็นสมญา นามที่เพื่อนบ้านได้ตั้งให้)

บางครั้งโมริเฮอิได้ไปยังเมือง เองการู ใกล้ ๆ นั่นเอง ซึ่งที่นั่นเขาได้พบ โซกากุ ทาเกดะ เป็นอาจารย์ใหญ่ทาง ไดโตะ-เรียว ยูยิทสู ซึ่งใช้เป็นแบบอย่างยูโด พวกเขาทั้งสองคนได้รู้จักซึ่งกัน และกันในแนวความคิดของศิลปะป้องกันตัว และโมริเฮอิมีความเชียวชาญเทคนิค (ศิลปะป้องกันตัว) ของโซกากุด้วย

8 ปีผ่านไปในเมืองฮอกไกโดนั้น ซึ่งโมริเฮอิได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาหมู่บ้าน ชิวาตากิ ดังนั้นชีวิตของเขาจึงยุ่งและวุ่นวายมาก วันหนึ่งเขาได้รับโทรเลขว่า บิดาของเขาป่วยหนัก เขาจึงกลับ ไปบ้านที่ทานาเบ้ทันที

ในเวลาต่อมาบิดาเขาก็สิ้นชีวิต และโมริเฮอิเกิดความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก เขาจึงได้ เดินทางไปเมืองอายาเบ้ใน จังหวัดเกียวโตและที่นั่นเขาได้พบกับ โอนิซาบุโร เดกูชิ ผู้นำของ โอโมโตเกียว ซึ่งเป็นศาสนาหนึ่งของญี่ปุ่น ที่นั่นเขาได้รับการฝึกฝนการทำสมาธิ

ในปี ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) โมริเฮอิ ได้จัดตั้งยิมเนเซียม (สนามกีฬาในร่ม) ชื่อว่า อูเอชิบาจูกุ ในอายาเบ้ของจังหวัดเกียวโต ซึ่งเขาต้องการจะทำมานานแล้ว ในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) เขาเป็น ผู้ฝึกสอนศิลปะป้องกันตัวในชื่อว่า ไอคิ บูจัทสึ (Aiki bujutsu) ซึ่งหมายความว่า การรวมพลังจิต พลังใจ และพลังกายเข้าด้วยกัน

วันหนึ่งมีนายทหารเรือคนหนึ่ง ซึ่งได้ยินเรื่องราวของอูเอชิบา จูกุ จึงมาท้าทาย โมริเฮอิ แข่งขัน ต่อสู้กับดาบไม้ของเขา

โมริเฮอิ ยืนแน่วนิ่งด้วยมือเปล่า และพูดว่า “ตีผมได้เลย เวลาไหนก็ได้” นายทหารเรือคนนั้น พยายามตี  โมริเฮอิ ด้วยความรุนแรง และเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาด้วยดาบไม้ของเขา  แต่โมริเฮอิ หลบหลีก ไปอย่างง่าย ๆ นายทหารเรือผู้นี้ก็พยายามที่จะตีเขาอยู่ตลอดเวลา ทำเช่นนี้อยู่หลายครั้ง แต่โมริเฮอิ เคลื่อนไหวหลบหลีกดูว่าทำด้วยความแผ่นเบาว่องไว แต่ในที่สุดนายทหารเรือผู้นั้น จึงหยุดตี และนั่งลงพักเหนื่อย

หลังจากนั้น โมริเฮอิ จึงอุทิศเวลาต่อการสอน ไอคิ บูจัทสึ ต่อไปประดุจดั่งว่าเขาเป็น ผู้มีพลัง ความสามารถมาก และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

ปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ.2465) ก่อกำเนิดศิลปะไอคิยูยิสสู (Aiki jitsu) อันมีกำลังใจ, ใจ, ร่างกายรวมกันเป็นหนึ่งเดียว (กำลังใจ คือ กำลังที่ออกจากใจ , ใจซึ่งเป็นของตัวเราเอง, ส่วน ร่างกาย คือกายเนื้อ) 3 สิ่งนี้รวมกันเป็นรากฐานของไอคิโด

ปี ค.ศ. 1942 (พ.ศ.2485) ได้เปลี่ยนชื่อจาก “ไอคิบูโด” (Aikibudo) เป็น “ไอคิโด” (Aikido) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ.2503) รัฐบาลญี่ปุ่นได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ปรมาจารย์

ปี ค.ศ. 1961 (พ.ศ.2504) ได้รับเชิญจากอเมริกาให้ไปแสดงและสอนที่ฮาวาย

ปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ.2507) จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นได้พระราชทานเครื่องราชฯ ชั้นที่ 4

ปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ.2511) วันที่ 26 เดือน เมษายน เสียชีวิต (รวมอายุ 86 ปี) ได้รับเครื่อง ราชฯ ชั้นที่ 3 อีกครั้ง

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=VOnwTwUp1_w[/youtube]

Similar Posts

ใส่ความเห็น