| | |

ประวัติ คาราเต้

คาราเต้ ถือเป็นวิชาศิลปะการต่อสู้ที่ผมเริ่มรู้จักเป็นอันดับแรกๆเลยก็คือวิชา คาราเต้ จากหนังเรื่อง Karate Kid สมัยนั้นหนังเรื่องนี้ก็โด่งดังมากไม่แพ้ เวอร์ชั่นใหม่ของ เฉินหลง กับ เจเดน สมิธ เลยครับ วันนี้เราลองมาดูประวัติของวิชานี้กันดีกว่า

ประมาณ ศตวรรษที่14 พระโพธิธรรม(ดารูมะ) ผู้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายเซน เดินทางจากทางทิศตะวันตก ของประเทศอินเดีย ฝ่าแนวเขาหิมาลัย ข้ามแม่น้ำ ฝ่าความทุกข์ยาก ไปยังประเทศจีน เพื่อเผยแพร่พุทธศาสนา และปีต่อมาได้เดินทาง ไปยังวัดเส้าหลิน(โชริน-จิ) ในจังหวัดฮูนานของจีน เพื่อบรรยายธรรม

ท่านได้พบว่ามีสาวกจำนวนมาก ที่ไม่สามารถทนทาน ต่อการฝึกอย่างหนัก ท่านจึงได้กำหนดวิธีเพื่อการพัฒนาจิตใจ และร่างกาย ซึ่งพระโพธิธรรม ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า …

“แม้ว่าวิธีการของพระ พุทธเจ้าเป็นการอบรมทางด้านจิตใจก็ตาม แต่ร่างกายและจิตใจไม่อาจแยกจากกัน เท่าที่ท่านเป็นอยู่นี้ ข้าพเจ้าคิดว่าท่านยังไม่สามารถฝึกฝนได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจาก มีกำลังไม่พอ ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจะให้วิธี ที่ทำให้ท่าน สามารถพัฒนากำลังกาย ให้แข็งแกร่งพอที่จะสามารถฝึกฝน ตามวิธีการของพระพุทธเจ้า”

วิธีการนี้มีบันทึกอยู่ในพระสูตร และสมารถกล่าวได้ว่า บรรดาพระสงฆ์ของวัดเส้าหลิน เป็นผู้มีกำลังกายและกำลังใจเข้มแข็ง มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในเวลาต่อมาการสอนด้วยวิธีของพระโพธิธรรม ก็แพร่ขยายไปยังที่ต่างๆและมีชื่อเรียกตามถิ่นกำเนิดว่า โชริน-จิ เคมโป (Shorin-ji Kempo) และได้แพร่ขยายไปยังหมู่เกาะริวกิว (ปัจจุบันเรียกว่าหมู่เกาะโอกินาวา)

จากการบันทึกในอดีต พัฒนาการของคาราเต้-โด เริ่มต้นขึ้น ในช่วงต้นศตวรรษที่ 14  มีการติดต่อค้าขาย แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันระหว่าง จีนและหมู่เกาะริวกิว ซึ่งขณะนั้น กังฟู (Kun-Fu) ได้เข้ามาเผยแพร่ และได้พัฒนาการเป็นศิลปะป้องกันตัวของเกาะริวกิวเองมีชื่อเรียกในขณะนั้น หลายอย่าง อาทิเช่น โทเดะ(Toudei), เทะ(Tee), เคมโป(Kempo), โอกินาว่า-เต้(Okinawa te)

ในปี 1429 วีรกษัตริย์ โชฮาชิ ได้รวมอาณาเขตทั้ง 3 แห่งของหมู่เกาะริวกิว และตั้งขึ้นเป็น สหราชอาณาจักร (Ryukyu Kingdom) มีการติดต่อค้าขายกับจีน มีความมั่งคั่งเป็นอย่างมาก  และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสงครามแย่งชิงดินแดนในส่วนนี้ หลังจากนั้น ประมาณ 200ปีต่อมา การสิ้นสุดของสงครามเซกิงาฮาระ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 1600 จบลงด้วยชัยชนะเด็ดขาดของโตกุงาวะ อิเอยาสึ  จักรพรรดิทรงแต่งตั้งเป็นโชกุน ในปี 1603 (ถึงแก่กรรม 1616

ใน สมัยตระกูลโตกุงาวะ เป็นโชกุน ราวปี 1609 (ตามปฎิทินของญี่ปุ่นเป็นปีที่ 14 ของไกโช)  ไดมียว ชิมาสึ ตระกูลซัทซูมา ได้ยึดหมู่เกาะริวกิวเป็นเมืองขึ้น และมีนโยบายห้ามประชาชนมีอาวุธอยู่ในครอบครอง จึงสันนิษฐานได้ว่า การพัฒนาของคาราเต้ เป็นการต่อสู้ป้องกันตัวเอง โดยไม่ใช้อาวุธ

เป็นผลของแรงกดดันจากการห้ามใช้อาวุธเป็นทวีคูณ และกล่าวได้ว่า คาราเต้เกิดจาก การผสมผสานระหว่างท่วงท่าป้องกันตัว เสมือนหนึ่งใช้อาวุธ การได้รับอิทธิพลจาก สำนักดาบ ของตระกูลซัทซูมา (สายจิเก็นริว,Jigen-ryu) ที่มีการฝึกฝนเพลงดาบ โดย่เน้นการเอาชนะคู่ต่อสู้ให้ได้ โดยการฟันในดาบเดียว ซึ่งคาราเต้ ได้นำหลักการดังกล่าวมาใช้ ในการฝึกฝน เพื่อให้สามารถล้มคู่ต่อสู้ ภายในหนึ่งเทคนิคและได้พัฒนามาเป็นคาราเต้-โดในปัจจุบัน

การ รัฐประหารในวันที่3 มกราคม1868 ถือเป็นจุดสิ้นสุดของตระกูลโตกุงาวะ (ครองอำนาจในญี่ปุ่นนานถึง 264ปี) สถาบันโชกุนล่มสลาย  จักรพรรดิเมจิทรงอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชในการปกครองประเทศ เราเรียกการเคลื่อนไหวนี้ว่าการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ (Meiji Restoration) และเป็นจุดเริ่มต้น การพัฒนา ไปสู่การใช้รัฐธรรมนูญปกครองประเทศในที่สุด

ใน ปี 1922 คาราเต้ได้ถูกสาธิตขึ้นเป็นครั้งแรกในงานแสดงศิลปะป้องกันตัวของประเทศ ญี่ปุ่น ณ.กรุงโตเกียว โดยปรมาจารย์ กิอิชิน ฟุนาโกชิ ( Master Gichin Funakoshi ) และได้รับการสนใจเป็นอย่างมาก คาราเต้ได้เผยแพร่ไปยังที่ต่างๆอย่างรวดเร็ว มีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา

ได้จัดตั้งเป็นชมรมในมหาวิทยาลัยเคโอเป็นแห่งแรก และอีกหลายมหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา ปัจจุบันคาราเต้ได้เผยแพร่ไปทุกมุมโลก ได้มีการจัดตั้งสมาคมคาราเต้แห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Karate Association,J.K.A.) ในเดือนพฤษภาคม ปี 1948 โดย บรรดาลูกศิษย์ของปรมาจารย์กิอิชิน ฟุนาโกชิ (สำนักโชโตกัน,Shotokan) มีการจัดกฎระเบียบต่างๆรวมทั้งรูปแบบการฝึกพื้นฐาน (Kihon), ท่ารำ (Kata), การต่อสู้ (Kumite)และกฎระเบียบในการแข่งขัน

ใน เดือนตุลาคม ปี 1957 J.K.A. ได้จัดการแข่งขันคาราเต้ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ.กรุงโตเกียว(โดย Master Masatoshi Nakayama ) มีประเภทการแข่งขัน ทั้งแบบต่อสู้ (Kumite) และแบบท่ารำ (Kata) การตัดสินใช้กฎของ J.K.A ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบการตัดสิน มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก มีการตั้งกฎระเบียบขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน (WKF, AKF, ISKF, J.K.A., JKF, etc.) แต่ยังคงใช้พื้นฐานการตัดสินตามแบบอย่างของ J.K.A.

ข้อมูลจาก : เอกสารเผยแพร่ศิลปะป้องกันตัวคาราเต้-โด แห่งประเทศญี่ปุ่น (โชโตกัน)

ประวัติการเผยแพร่ คาราเต้ ในเมืองไทย

ประวัติการสอนคาราเต้ในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2508 ยูโดกำลังเจริญเติบโต เพราะนักยูโดในเมืองไทยได้ไปแข่งขันกีฬาแหลมทอง ชนะเลิศหลายรุ่น กีฬายูโดพลศึกษามีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาเข้ามาแข่งขันยังกรมพลศึกษามากมาย ผู้เข้าชมยูโดในการแข่งขันแต่ละครั้งมีจำนวนมากพอสมควร

มีการแข่งขันยูโดประจำปีและประจำเดือนทุกเดือน ซึ่งสมาคมเป็นผู้จัดการแข่งขันในการแข่งขันยูโดดังกล่าว ได้มีการแข่งขันยูโด ปี 2508 จัดโดยสโมสรยูโดช่างกลปทุมวันการนำเอาคาราเต้มาแสดง เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของบุคคลทั่วไป

ในงานนี้ต่อหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ทรงประทับทอดพระเนตรการแสดงคาราเต้ของนาย เซอิจิ มูคารามิ และ ทรงสนพระทัยสอบถามเรื่องราวของ คาราเต้ กับผู้เข้าเฝ้านับเป็นนิมิตหมายอันดีที่คาราเต้

ได้แสดงต่อหน้าพระที่นั่งและประชาชนทั่วไปเพราะเป็นของแปลกและใหม่ที่ยิมเนเซี่ยมกรีฑาสถานแห่งชาติ คาราเต้เริ่มเป็นที่สนใจของคนไทยบ้างและเริ่มฝึกสอนกันในบ้านและมีลูกศิษย์ เพียง 4 – 5 คน

ต่อมานาย เทะซึโอะ ซาดาฮิโร่ ได้มาช่วยสอนอย่างจริงจัง ในปี พ.ศ. 2509 ได้มีภาพยนต์ทีวีเรื่องยอดคาราเต้ ออกอากาศที่ช่อง 4 หรือ ช่อง 7 ผู้เขียนก็จำไม่ได้ ทำให้ชาวไทยสนใจและตื่นตัว หันมาสนใจกีฬาคาราเต้กันมากพอควร

จนสามารถรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมคาราเต้ ขึ้นในประเทศไทยเมื่อระหว่างปี พ.ศ. 2510 – 2511 คาราเต้ได้เจริญเป็นลำดับและได้จัดตั้งสมาคมคาราเต้-โด แห่งประเทศไทย

จนมีตัวแทนไปแข่งขันยังนานาประเทศ ภายในประเทศมีการจัดแข่งขันกันบ่อยครั้ง เผยแพร่ไปยังโรงเรียนและสถาบันมหาวิทยาลัย หวังว่าคาราเต้คงเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของชาวไทยทั่วไปใน อนาคต

ขอบคุณ Karate Thammasat

คาราเต้ปัจจุบันมีหลากหลายสไตล์ หลายสำนักนะครับ กฏข้อบังคับ กติกา การแข่งขันของแต่ละที่ก็จะแตกต่างกันไปนะครับ ลองเลือกหาแบบที่เราชอบดูนะครับ

Similar Posts

ใส่ความเห็น