|

ประวัติมวยหวิงชุน

ประวัติของมวยหวิงชุน ตามคำบอกเล่าของปรมาจารย์หยิบหมั่น

เมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว เด็กหญิงชาญฉลาดและงดงาม หวิงชุนแห่งมณฑลกวางตุ้ง ได้เข้าพิธีหมั้นตามประเพณีกับพ่อค้าเกลือชื่อ เหลียง ปอค โฉว แห่งมณฑลฮกเกี้ยน ไม่นานหลังจากที่มารดาเธอเสียชีวิต ยิ่มยี่บิดาของเธอ ถูกทางการกล่าวหา จนทั้งสองต้องหลบหนีมายังเขาไท้เหลียง ซึ่งอยู่ระหว่างมณฑลยูนาน และเสฉวน โดยหาเลี้ยงชีพด้วยการขายเต้าหู้ทางตอนล่างของภูเขา

ใน เวลานั้นจีนอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์กวางสีแห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากชาวจีนทั้งมวล โดยเฉพาะนักมวยแห่งวัดเสี้ยวลิ้ม ซึ่งสร้างความอัปยศแก่ราชวงศ์ชิงเป็นอย่างมาก ถึงกับมีคำสั่งให้ทำลายวัดเสี้ยวลิ้มที่ซ่งซาน มณฑลเหอหนานให้สิ้นซาก

แต่ เนื่องจากความสามารถทางวรยุทธของชาวเสี้ยวลิ้ม ทางการจึงไม่สามารถทำลายวัดนี้ได้ จนกระทั่ง  ฉั่นหม่านไหว ข้าราชการผู้สอบได้คะแนนยอดเยี่ยมเสนอแผนหนอนบ่อนไส้  จ้างศิษย์ทรยศ หม่านิ่งยี่ และพระเลวอีกบางรูปให้วางเพลิง เพื่อเปิดโอกาสให้กองทัพชิงเข้าตีขณะชุลมุน  พระในวัดได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถจนต้านไม่ไหว  จึงได้ตีฝ่าวงล้อมออกมา  ในจำนวนนี้มีพระอาวุโสห้ารูป คือ แม่ชีหวู่เหมย  หลวงจีนจี้ส้าน  แปะไบ๊  ฟงโตกตั๊ก  และเมียวหิ่น

แม่ ชีหวู่เหมยเป็นศิษย์ผู้พี่ของพระทั้งห้า  ได้หลบมาพำนักอยู่ที่วัดกระเรียนขาวที่อยู่บนเขาไท้เหลียง และที่นี่เองได้พบกับ หวิงชุน และบิดา  เพราะแม่ชีมาซื้อเต้าหู้จากยิ่มยี่เสมอ

เมื่อ หวิงชุนอายุได้ 15 ปี ความงามเป็นที่เลื่องลือนัก จนอันธพาลได้มาก่อกวนเธอ และบิดาเป็นอย่างมาก  ยิ่มยี่จึงไปปรึกษาแม่ชี  แม่ชีเกิดความสงสารและถ่ายทอดวิชามวยหวิงชุน ให้แก่หวิงชุนเพื่อใช้ป้องกันตัว หลังจากนั้นหวิงชุนก็สามารถสยบอันธพาลเหล่านั้นได้สำเร็จ  ในเวลาอีกไม่นานแม่ชีหวู่เหมยจำต้องลาจากไป โดยกำชับให้หวิงชุนถ่ายทอดมวยชุดนี้ให้แก่คนรุ่นหลัง  เพื่อที่จะฟื้นฟูราชวงศ์หมิง และล้มล้างราชวงศ์ชิงต่อไป  นับได้ว่าแม่ชีหวู่เหมย  คือ  ปฐมอาจารย์แห่งมวยหวิงชุนโดยแท้

หลัง แต่งงาน หวิงชุนได้สอนมวยนี้ให้แก่เหลียงปอกโฉวผู้เป็นสามี  จากนั้นเหลียงปอกโฉว  สอนเหลียงหลานไกว(รุ่นที่2)  เหลียงหลานไกวสอนให้หวองหัวเปา (รุ่นที่3)  หวองหัวเปาขณะนั้นเป็นสมาชิกอยู่ในขบวนเรื่องิ้วแดง  ซึ่งออกแสดงงิ้วต้านราชวงศ์ชิงทางตอนใต้ของจีน  ด้วยความสนใจในวรยุทธ  หวองหัวเปาจึงสนใจอย่างมากกับกระบอง6แต้มครึ่ง  ที่เหลียงยี่ไท่สมาชิกร่วมคณะ เรียนมาจากพ่อครัวบนเรือ (ซึ่งแท้จริงคือ หลวงจีนจี้ส้าน) ถึงกับเอ่ยปากแลกเปลี่ยนกับมวยหวิงชุน

เหลียงยี่ไท่ด้วยใจรักมวยชุดนี้เป็นทุนเดิมจึงตอบตกลง  บันแต่นั้นมามวยหวิงชุนก็รวมเอากระบอก6แต้มครึ่ง เข้าไว้ด้วย

เห ลียงยี่ไท่สอนมวยหวิงชุนให้กับเหลียงจ้าน(รุ่นที่4) ผู้เป็นหมอรักษาโรคแห่ ผ่อซาน มณฑลกวางตุ้ง เหลียงจ้านหลังจากเรียนรู้มวยหวิงชุนจนแตกฉานจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้าง ขวาง  มีชาวยุทธมากมายมาประลอง  แต่ก็ไม่ปรากฏว่าพ่ายแพ้แก่ผู้ใด  จนคนขนานนามว่า “ราชาแห่งมวยหมัด” (ก๋องเสาหว่อง)

เหลียง จ้านได้ถ่ายทอดมวยหวิงชุนแก่อาจารย์ของข้าพเจ้าฉั่นหว่าชุน (รุ่นที่5) หรือ เจ๋าฉิ่นหว่า แปลว่า  ผู้แลกเงินตรา อาจารย์ของข้าพเจ้าสอนศิษย์รุ่น6  ทั้งมวลรวม 12  ปี ซึ่งมีศิษย์พี่ของข้าพเจ้า

อึ๋งสิวโล่ว  อึ๋งจ๋งโซว  ฉั่นหยู่หมิน  ลิ่วหยู่ไฉ  และข้าพเจ้า  นับได้ว่าเราเรียนมวยหวิงชุนสายตรงจากปฐมอาจารย์เลยทีเดียว ข้าพเจ้าขอรำลึกถึงบุญคุณของอาจารย์หวิงชุนทุกท่าน  เฉกเช่นผู้กระหาย ย่อมรู้คุณค่าของแหล่งน้ำ  ข้าพเจ้ามีความยินดียิ่งที่มีโอกาสเห็นสมาคมหวิงชุน  หวังว่าเราสามารถสืบทอดมวยหวิงชุนให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป

ประวัติมวยหวิงชุนในเมืองไทย

ยิบมั่น และศิษย์

หลังจากที่คอมมูนิสต์เข้าปฎิวัติประเทศจีน ยิบมั่นจึงอพยบมาที่ฮ่องกงอีกครั้ง และจึงเริ่มรับลูกศิษย์ทั่วไปมากมาย ลูกศิษย์ซี่งมีชื่อ เสียงจนถึงปัจจุบันมีมากมาย ยกตัวอย่างคือ ซุยเซียงทิ้น หว่องซั่มเหลี่ยง เจี้ยงจอกเฮง หลีเซียวเส้ง (บรู๊ซลี) ฮ่อกกิ่นเชียง และอื่นๆ อาจารย์เหล่านี้ได้เผยแพร่มวยหยงชุน จนมีผู้ฝึกฝนทั่วโลกในปัจจุบันเป็นหมี่นหรือแสนคน

บรู๊ซลีได้ไปอเมริกาและนำพลังหมัดช่วง สั้นหนึ่งนิ้วและสามนิ้วไปสาธิตที่การแข่นขันศิลปป้องกันตัวของเอ็ด ปารค์เกอร์ ครูมวยคาราเต้ระบบ อเมริกันแคมโป้ (American Kempo)จนเป็นที่ตื่นเต้นแก่ผู้สนใจชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก ภายหลังบรู๊ซได้ถูกทาบทามไปแสดงหนังจนกระทั่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม ของ เค้โต้ และ อ้ายหนุ่มซินตึ้ง ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างลูกศิษย์และอาจารย์เป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก เมี่อยิบมั่นไม่ยอมถ่ายทอดวิชาทั้งหมดให้บรู๊ซในเวลาอันสั้น ด้วยความผิดหวังบรู๊ซกลับไปอเมริกาคิดค้นมวยประยุกต์ขึ้นใหม่โดยรวบรวมข้อดี ของศิลปป้องกันตัวทุกชนิดเข้าด้วยกันและเรียกมวยขนิดนี้ว่า จิ๊ดคุนโด หรือ วิชา หยุดหมัดสำหรับผู้ที่รู้จักมวยของทั้งสองแล้ว ย่อมรู้ว่าบรู๊ซได้คงไว้ซึ่งหลักวิชาหยงชุ่นไว้อย่างมากมายในมวยจิ๊ดคุนโด

ยิบมั่นเสียชิวิตลงในปี ค.ศ. 1972 และถูกยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ในยุคปัจจุบันของหยงชุ่น เคียงข้าง เช็งหม่านชิง (แต้หมั่งแช – แต้จิ๋ว) แห่ง สำนักไท้เก็ก ยูอิชิบ้าแห่งสำนักไอกิโด้ ส่วนบรู๊ซลีเสียชีวิตอีกหนึ่งปีถัดไปด้วยโรคปัจจุบัน

เจี้ยงฮ่อกกิ่น จูเสาไหล่ และ อนันต์ ทินะพงศ์

บรู๊ซลีมีเพื่อนสนิทในโรงเรียนและสำนักมวย ชื่อ เจี้ยงฮ่อกกิ่น ทั้งคู่เรียนหนังสือวิชาป้อง กันตัว และออกประลองด้วยกัน ทั้งคู่ฝึกมวยหยงชุ่นภายใต้การชี้แนะของยิบมั่นและศิษย์พี่จอมราวี หว่องซั่มเหลี่ยงและเจี้ยงจอกเฮง เจี้ยงฮอกกิ่นนอกจากศึกษา วิชามวยหยงชุนแล้วยังได้ศีกษา มวยไทเก็กตระกูลวู และปัจจุบันได้สอนมวยทั้งสองชนิดเป็นการส่วนตัวที่มลรัฐลอสแอนเจลิส อเมริกาและได้รับศิษย์เอกในวิชา หยงชุนคือจูเสาไหล่

อาจารย์จูเสาไหล่ศึกษาศิลปป้องกันตัว ตั่งแต่ยังเล็กๆ ในวิชาคาราเต้โชรินริว ต่อมาได้ฝึกวิชามวยตระกูลหงทั้งหมดในฐานะศิษย์เอก จากยีจีเหวย ศิษย์อาจารย์ต๋องฟ้งศิษย์อาจารย์หวองเฟยหง อาจารย๋จูเสาไหล่ได้ให้ความสนใจหมัดหยงชุนมาเป็นเวลานานจึงได้เริ่มหัดมวย หยงชุนกับ อากว้าน ศิษย์ หยงชุนสำนักยิมเชียวซาน หลีหมุ่ยซ้าน ศิษย์อาจารย์หมุ่ยยัดศิษย์อาจารย์ยิบมั่น อาจารย์จูเสาไหล่ยังได้พัฒนาตัวเองเพิ่มเติมด้วยการศึกษาเพิ่มเติมจากหลุ่ย หยันซัน ราชากระบองยาวแห่งประเทศจีน สำนักเสือทยานมังกรบิน (เฟยหลงฝู) และปากัวหมัดแปดทิศ ซิงยี่หมัดจากใจและไทเก็ก อาจารย์จูเสาไหล่ยังศึกษาเพิ่มเติม จากอาจารย์ฮอกกิ่นเป็นครั้งคราวเมื่ออาจารย์ฮอกกิ่นมาเยือนที่มลรัฐนิวยอร์ค หลังจากที่อาจารย์จูเสาไหล่ย้ายมาที่มลรัฐ ลอสแอนเจลิส อเมริกา จึงได้ปรมาตัวเป็นศิษย์ อาจารย์ฮอกกิ๋นจนถึงทุกวันนี้

อาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาป้องกัน ตัวตั่งแต่อายุได้สิบเอ็ดปี ในวิชาเทควันโด้และมวยเสี้ยวลิ้มใต้จากอาจารย์คันศรเป็นเวลา 6-7 ปี และมวยไทย เมื่อคุณพ่อเปิดค่ายมวยไทยหลังจากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา จนจบปริญญาโทด้านคอมพิวเตอร์ ขณะอยู่ในอเมริกาอาจารย์อนันต์ได้คลุกคลีกับศิลป ป้องกันตัวโดยตลอดโดยได้เป็นผู้จัดการฝ่ายขายของร้านขายอุปกรณ์กีฬาศิลป ป้องกันตัวเป็นเวลากว่าสิบปี ที่นี่เองอาจารย์อนันต์ได้พบกับอาจารย์ จูเสาไหล่จนเป็นมิตร ที่สนิทกัน ด้วยความอยากแลกเปลี่ยนวิชา ทั้งสองได้ตกลงทดสอบฝีมือกัน โดยใครแพ้ก็ต้องเรียนกับอีกฝ่ายหนี่ง ขณะเดียวกันก็ถ่ายทอดสิ่งที่ตนเรียนมาให้โดยไม่มีเงื่อนไข

อาจารย์อนันต์ได้เรียนรู้วิชาหยงชุนกับ อาจารย์จูเสาไหล่เป็นเวลาหลายปีก่อนกลับเมื่อไทยในปีค.ศ. 1988 จากนั้นจึงเริ่มสอนวิชามวยหยงชุนเป็น วิทยาทานโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ทุกสองปีอาจารย์อนันต์ได้กลับไปยังสหรัฐเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ อาจารย์จูเสาไหล่และอาจารย์ฮ่อกกิ่น ปัจจุบันอาจารย์อนันต์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของ สองบริษัท ปัจจุบันอาจารย์อนันต์ไ้ด้เปิดสอนหวิงชุนเป็นประจำที่สวนลุมทุกวันอาทิตย์

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักจูเสาไหล่หวิงชุนแห่งประเทศไทย

Similar Posts

ใส่ความเห็น